พละ 5 กับสติปัฏฐาน ของ พละ 5

ตามหลักปฏิบัติสติปัฏฐานท่านว่าเป็นเหตุให้เกิด พละ5 ตามอารมณ์ของสติปัฏฐานที่ได้เจริญ

  • ศรัทธาพละ คือการกำหนดอารมณ์วิปัสสนาน้อยอย่าง แคบกว่าหยาบกว่ากำลังของสติและสมาธิที่มีอยู่ ซึ่งในตอนแรกทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ดี แต่ถ้าอารมณ์ที่ใช้กำหนดน้อยเกินไป ในกรณีที่จิตมีสติสมาธิที่เริ่มมีกำลังมากขึ้น จะกลายเป็นทำให้จิตดิ่งสมาธิจนสติอ่อนกำลังการกำหนดรู้รอบตัวลง หรือสมาธิอ่อนกำลังลงอันเกิดจากความชำนาญในอารมณ์ภาวนามากขึ้น จนเหม่อลอยง่าย ทำให้กามวิตก พยายาทวิตกเกิดขึ้นได้ง่าย แต่เมื่อเพิ่มการกำหนดให้ละเอียดขึ้นสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
  • ปัญญาพละ คือการกำหนดอารมณ์วิปัสสนามากอย่าง กว้างกว่าละเอียดกว่ากำลังของสติและสมาธิที่มีอยู่ ซึ่งอาจทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ยาก เพราะมีสิ่งที่ต้องกำหนดมากเกินไป จนฟุ้งซ่าน และสับสนได้ เมื่อสมาธิและสติน้อยเกินไป จะเกิดความขี้เกียจหรือทำจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ภาวนาไม่ได้เลย การเจริญวิปัสสนาจึงควรที่จะค่อยๆเพิ่มอารมณ์ที่กำหนดจากน้อยไปหามาก จากแคบไปหากว้าง จากหยาบไปหาละเอียด เมื่อชำนาญจิตจะเกิดสมาธิ การเพิ่มอารมณ์กำหนดให้มากขึ้น คือการเพิ่มกำลังสติเพิ่มกำลังการกำหนดรับรู้รอบตัวให้มากขึ้น เป็นการลดกำลังสมาธิให้น้อยลง
  • วิริยะพละ เกิดจากการกำหนดการเดินจงกรมและการกำหนดอิริยาบถย่อย ซึ่งถ้าทำมากไปจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน
  • สมาธิพละ เกิดจากการกำหนดในอิริยาบถนั่ง ถ้ามากไปทำให้ขี้เกียจ ท้อแท้ ง่วง เบื่อ ได้

ดังนั้น ให้ศรัทธาพละสมดุลกับปัญญาพละด้วยการกำหนดอารมณ์ให้เหมาะสมแก่กำลังของสติสมาธิในขณะนั้น ให้วิริยะพละสมดุลกับสมาธิพละด้วยการสลับการเดินจงกรมและการนั่งสมาธิให้เหมาะสมแก่อินทรีย์ของตนเอง

ใกล้เคียง

พละ 5 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระโคตมพุทธเจ้า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร